พาย เผย เทรนด์งานออกแบบมาแรงแห่งปี 2015 – 2016

บริษัท ออกแบบ พาย  จำกัด หรือ pye ได้ส่งนักออกแบบกว่า 10 ชีวิต เข้าร่วมงาน MAISON & OBJET งานแสดงนวัตกรรมการออกแบบ และของตกแต่งบ้านที่ใหญ่อันดับหนึ่งของโลก ณ ประเทศฝรั่งเศสเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อต่อยอดไอเดียสร้างสรรค์ พร้อมนำเทรนด์การออกแบบ ที่นักการตลาดชั้นนำได้ศึกษาร่วมกับวงการออกแบบสถาปัตยกรรม แฟชั่น และรีเทล มาปรับใช้ในการทำงาน และตอบรับกับไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงทุกๆ 1-2 ปี จากปัจจัยหลักๆอย่างสังคม วัฒนธรรม และเทคโนโลยี

ยังคงเป็นหนึ่งในกลยุทธ์การทำงานของแบรนด์ออกแบบสุดฮอต ‘พาย’ ที่ไม่เพียงนำเรื่องราวสนุกสนานที่เป็นประโยชน์ เข้าใจง่าย มาแชร์ผ่านโลกออนไลน์และสื่อต่างๆให้ผู้บริโภคได้ติดตามกัน แต่ยังเป็นแบรนด์ ไลฟ์ไตล์แบรนด์หนึ่งที่มี  วิธีการผสมผสานแนวคิดการทำงานอย่างนักการตลาดที่น่าสนใจ และน่าเอาเป็นตัวอย่าง ซึ่งในคราวนี้ได้เผย 6 เทรนด์ที่เป็นประโยชน์ต่อวงการออกแบบ และนักการตลาดไทย นำไปประยุกต์ใช้

1. Global to Glocal

คือ กลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจให้เติบโตก้าวไกลไปทั่วโลก ในขณะที่รักษาความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้บริโภคในประเทศนั้นๆ ที่ล้วนแล้วแต่มีความคิดแตกต่างกันในแต่ละประเทศให้เข้าถึงแบรนด์
แบรนด์เดียวกันได้ เช่น การทำแคมเปญทางการตลาดในท้องถิ่น แต่กลับเกิดการรับรู้ไปทั่วทั้งโลก


2. Pop Up Store

การทำแคมเปญในลักษณะป๊อปอัพสโตร์จะแรงขึ้นเรื่อยๆ เช่น ป๊อปอัพสโตร์กลางทะเลทรายของ PRADA, IKEA Cuisine Box, Roberto Cavalli Hotel ซึ่งเน้นการสร้างประสบการณ์ดีๆให้กับผู้บริโภค (Brand Experience) เกิดการจดจำและการมีส่วนร่วมมากกว่ามุ่งเน้นการขาย

3. Color – DIY

เทรนด์สีของสินค้า เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน ในปีนี้จะออกแนวโทนสีที่ที่ไม่จำกัดเพศวิถี ซึ่งเหมาะกับชาย หญิงหรือเพศอื่นๆ โดยการจับคู่โทนสีน้ำเงิน ทอง โรสโกลด์ และเทาเข้าด้วยกัน และโดดเด่นด้วยการเลือกใช้วัสดุที่มีผิวสัมผัสนุ่มลื่น อีกทั้งงานออกแบบยังเน้นเป็น DIY (Do It Yourself) มากขึ้น จากปัจจัย 4 อย่างคือ อารมณ์ ธรรมชาติ มนุษย์ และเทคโนโลยี

4. Lots of brands focus on aging population

เพราะโลกกำลังก้าวเข้าสู่เทรนด์สังคนสูงวัยมากขึ้นเรื่อยๆ 
แบรนด์ต่างๆทั่วโลกจึงหันมาให้ความสนใจกับการผลิตสินค้า และการให้บริการเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุมากขึ้น เพื่อสร้างโอกาสใหม่ทางธุรกิจ

5. Brand design, not just branding

แบรนด์ดิ้งสำหรับธุรกิจประเภทรีเทล อย่างห้างสรรพสินค้า ร้านค้า ร้านอาหารต่างๆ จะกลับมาแรงในปีนี้อีกครั้งหลังจากแรงมาแล้วในยุค 1960-1970 แต่จะกลับมาในรูปแบบที่ผสมผสานงานออกแบบดีไซน์เข้าไปเสริมให้ธุรกิจนั้นๆมีเรื่องราวที่น่าสนใจ แตกต่าง และแปลกใหม่ ซึ่งส่งผลให้แบรนดออกแบบหรือรีเทลที่ไม่ปรับตัวจะอยู่ยากขึ้น และเสียโอกาสในการแข่งขันแน่นอน

6. Interaction design

นักออกแบบจะหันกลับมาให้ความสำคัญของงานดีไซน์ไปพร้อมๆกับผู้บริโภค โดยเฉพาะในแง่ของความสุข มากกว่าจะเน้นตอบโจทย์เรื่องพื้นที่ และความสวยงาม อีกทั้งการใช้วัสดุที่ไม่เรียบง่ายจนเกินไป มีสีสัน และมีลูกเล่นที่ดูสนุกสนาน เพื่อดึงดูดให้ผู้บริโภคเกิดการปฏิสัมพันธ์กับงานดีไซน์มากขึ้น
 
ทั้ง 6 เทรนด์นี้ถือว่าเป็นบทสรุปที่ท้าทายนักออกแบบทั้งหลายให้หันมาปรับตัว และปรับเปลี่ยนเพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจ งานสร้างสรรค์งานของนักออกแบบ โดยไม่สนใจการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว อาจจะทำให้ธุรกิจใหม่ๆ ดีไซเนอร์หน้าใหม่ๆแซงหน้าไปอย่างไม่รู้ตัว ซึ่งการสร้าง ‘แบรนด์’ ของนักออกแบบ จะยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในโลกที่ผู้บริโภคกลายเป็นผู้กำหนดชะตา ซึ่งนับได้ว่าเป็นความโชคดีของแบรนด์ พาย ที่ครบเครื่องตั้งแต่วิธีการ ไปถึงการก้าวไปพร้อมๆกับผู้บริโภค จนทุกวันนี้กลายเป็นแบรนด์ออกแบบในฝันของคนจำนวนมากไปแล้วที่อยากใช้บริการสักครั้งหนึ่ง