เอ็นฟอร์ซ ประกาศทิศทางการดำเนินธุรกิจปี 2558 มุ่งขยายฐานธุรกิจเข้าสู่ตลาดใหม่ ตั้งเป้ารายได้โต 15%

นายนักรบ เนียมนามธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็นฟอร์ซ ซีเคียว จำกัด ผู้นำด้านการจัดจำหน่ายระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจรในประเทศไทย เปิดเผยว่า ในปี 2557 ที่ผ่านมานี้ บริษัทฯ ยังประสบความสำเร็จด้วยดี เนื่องจากบริษัทฯ ได้เข้าไปช่วยสนับสนุนการทำงาน สร้างความแข็งแกร่งให้กับพาร์ทเนอร์ ด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่เป็นที่ต้องการของตลาดและตรงใจลูกค้าในแต่ละอุตสาหกรรมให้สามารถขยายตลาดเข้าไปในช่องทางอื่นๆ ได้

โดยในปี 2558 บริษัทฯ มีนโยบาย และกลยุทธ์การทำธุรกิจที่จะมุ่งขยายธุรกิจเข้าสู่ตลาดใหม่ โดยเน้นเจาะกลุ่มผลิตภัณฑ์ทางด้านเครือข่าย และการเร่งความเร็วบนระบบเวอร์ชวล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และความปลอดภัยให้กับแอพพลิเคชั่นต่างๆ ให้กับกลุ่มลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ กลุ่มภาครัฐ และสถาบันการเงิน

ทั้งนี้บริษัทฯ ยังมีแผนการทำตลาดที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญลูกค้าเป็นหลัก เน้นตอบสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้า มีพาร์ทเนอร์ให้ครอบคลุมลูกค้าทุกกลุ่ม และทำราคาที่ลูกค้าสามารถจับต้องได้ ตลอดจนเปิดให้บริการ คอล เซ็นเตอร์ ตลอด 24 ชั่วโมง 7 วัน   โดยบริษัทฯ ตั้งเป้าการเติบโตของรายได้ไว้ที่ 15 เปอร์เซ็นต์

นอกจากนี้นายนักรบ กล่าวเพิ่มเติมถึงแนวโน้มเทคโนโลยีไอที ซีเคียวริตี้ที่มาแรงในปี  2558  ที่   น่าจับตามองคือ

·  คลาวด์ ซีเคียวริตี้ (Cloud Security) ปัจจุบันทุกคนมีอุปกรณ์โทรศัทพ์มือถือกัน ไม่ว่าจะเป็น โทรศัทพ์มือถือ    แท็บเล็ต และแฟบเล็ต  (สมาร์ทโฟน + แท็บเล็ต) ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีซีเคียวริตี้บนคลาวด์ ได้แก่ 1. การตรวจสอบหามัลแวร์ (Scan Malware) 2.การกำหนดสิทธิ์ต่างๆ ในการเข้าถึงข้อมูล เช่น การแชร์ไฟล์ สามารถแชร์ให้ใครได้บ้าง การตรวจสอบว่าไฟล์ถูกแชร์ให้ใครบ้าง เป็นต้น ซึ่งถ้าไม่ตรวจสอบ จะทำให้ไม่ทราบว่าข้อมูลถูกสำเนาคัดลอก (Copy) นำออกไป (Move) ที่ไหน หรือมีการเปลี่ยนแปลง (Change) ไปอย่างไร เพราะเราต้องไม่ลืมว่าทรัพย์สินที่เป็นข้อมูลสามารถถูกคัดลอกขโมยไปแล้วแต่ก็ยังคงมีเก็บไว้อยู่ เพราะฉะนั้นจึงต้องมีความปลอดภัย
·  แอพพลิเคชั่น และโมบาย แอพพลิเคชั่น ซีเคียวริตี้ (Application และ Mobile Application Security) เพราะหากไม่มีการตรวจสอบ ซึ่งอาจมีช่องโหว่ขณะใช้งาน และจะให้ผู้ไม่หวังดีโจมตีมาที่แอพพลิเคชั่น และทำให้ผู้ไม่หวังดีเข้าถึงข้อมูลต่างๆได้ ในขณะเดียวกันการโหลด แอพพลิเคชั่นก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อภัยต่างๆ เช่น แอพพลิเคชั่นฟรี บนระบบแอนดรอยด์ ซึ่งอาจสามารถสร้างความเสียหายให้กับไฟล์หรือระบบปฎิบัติการของอุปกรณ์นั้นๆ ได้
·  แซนด์บ็อกซิ่ง (Sandboxing) การใช้แซนด์บ็อกซิ่ง  (Sandboxing)  จะเป็นการจำลอง แอพพลิเคชั่นที่ทำงานอยู่บนหลายแพลทฟอร์มโดยเราสามารถนำไฟล์หรือแอพพลิเคชั่นนั้นมาทำ จำลองการทดสอบ (simulate test)  บนแพลทฟอร์มต่างๆ อย่าง  วินโดวส์  เซิร์ฟเวอร์  และแอนดรอยด์  เพื่อจำลองไฟล์หรือแอพพลิเคชั่นที่ดาวน์โหลดมาจะมีผลกระทบอย่างไร เช่น อาจจะมีการเชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์ของผู้ไม่ประสงค์ดีที่ให้เราโหลดมัลแวร์ต่างๆ เข้ามา
·  การจัดการสิทธิ์ดิจิตอล หรือ DRM <Digital Right Management> DRM เป็นการกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงไฟล์ การนำ DRM มาใช้ใน Personal Cloud นอกจากเป็นการเพิ่มรหัส (encrypt) ในระดับไฟล์แล้ว DRM ยังเป็นการรักษาข้อมูลในไฟล์ เพราะเราสามารถยกเลิกสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูล ซึ่งทำให้ผู้ไม่ประสงค์ดีที่ได้ไฟล์ไป ไม่สามารถเข้าถึงไฟล์ได้และเห็นไฟล์นั้นเป็นขยะ
·  ไอที ซีเคียวริตี้ เอาท์ซอร์สซิ่ง หรือ แมเนจ ซีเคียวริตี้ เซอร์วิส โพรวายเดอร์  (IT Security Outsourcing หรือ MSSP (Managed Security Services provider) หลายองค์กรหันมาให้ความสำคัญกับการทำเอาท์ซอร์สซิ่ง เนื่องมาจากองค์กรนั้นๆไม่นิยมจัดซื้ออุปกรณ์ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์มาใช้ในแบบเดิม เพราะต้องใช้งบประมาณสูงและยังมีค่าบำรุงรักษา รวมไปถึงการขาดแคลนบุคลากรที่มีความชำนาญด้านอุปกรณ์นั้นจึงทำให้องค์กรในปัจจุบันเลือกที่จะใช้เอาท์ซอร์สซิ่ง ระบบสารสนเทศจากหน่วยงานภายนอก อย่างไรก็ตามการใช้เอาท์ซอร์สซิ่ง  จำเป็นที่เราต้องเข้าใจความข้อดีข้อเสียของการใช้เอาท์ซอร์สซิ่งให้ดีเสียก่อน

เกี่ยวกับ บริษัท เอ็นฟอร์ซ ซีเคียว จำกัด
เอ็นฟอร์ซ ซีเคียว ผู้นำในการจัดหาและการพัฒนาช่องทางการตลาดของโซลูชั่นอันก้าวหน้าด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ที่ทำให้องค์กรทุกขนาดสามารถใช้งานได้อย่างคุ้มค่า และควบคุมการลงทุนด้านอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องผลิตภัณฑ์และการบริการของเอ็นฟอร์ซ ซีเคียว ครอบคลุมถึงโซลูชั่นด้านการออกแบบโครงสร้างความปลอดภัย การประเมินความปลอดภัย การปฏิบัติตามกฎระเบียนข้อบังคับต่างๆ (regulatory compliance) การพัฒนาและการดำเนินการด้านนโยบายการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ระบบป้องกันไวรัสบนเครือข่าย เกตเวย์ และอีเมล์ การจัดการเนื้อหาบนอีเมล์ URL filtering ระบบความปลอดภัยไร้สาย เครื่องมือระบุความโดดเด่นบนเครือข่าย บริการตรวจจับการบุกรุก การจัดเตรียมสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ใช้ การควบคุมการเข้าถึงเครือข่าย การจัดการและรายงาน   log ท่านสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ www.nforcesecure.com/