เปิดกลยุทธ์…จับนักท่องเที่ยวอินเดียกระเป๋าหนักให้อยู่หมัด

ใครที่เคยมองข้าม “ทัวร์อินเดีย” อาจต้องคิดใหม่  เพราะเวลานี้ นักท่องเที่ยวอินเดีย นอกจากจะมีจำนวนไม่น้อยหน้าทัวร์จีน ยังจัดเป็นกลุ่มทัวร์กระเป๋าหนัก ต้องจับให้อยู่หมัด  สร้างรายได้เข้าไทยได้กว่า 37,537 ล้านบาท
 
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้จัดทำ “โครงการศึกษาตลาดนักท่องเที่ยวศักยภาพสูง (ตลาดอินเดีย) ขึ้นมา เพื่อศึกษากลยุทธการเจาะตลาดนักท่องเที่ยวอินเดียโดยเฉพาะ 
 
9 เรื่องที่ต้องรู้… ก่อนลุยตลาดนักท่องเที่ยวอินเดีย “กลุ่มHigh-Value Tourist”
 
จากข้อมูลของ India Tourism Statistics ปัจจุบันอินเดียส่งออกนักเดินทางไปทั่วโลกมากกว่า 16 ล้านคนต่อปี ในจำนวนนี้เป็นนักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังไทยประมาณ 1 ล้านคน (1,028,414 คน ในปี 2556) โดยมีจำนวนเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวนับจากปี 2550 ซึ่งมีจำนวนนักท่องเที่ยวอินเดียเดินทางมาไทยเพียง 5 แสนคนเศษเท่านั้น และข้อมูลของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาพบว่านักท่องเที่ยวอินเดียสามารถสร้างรายได้เข้าไทยได้กว่า 37,537 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นตลาดนักท่องเที่ยวที่สำคัญที่จำเป็นต้องให้ความสนใจอย่างยิ่ง
 

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ทำการวิจัยตลาดนักท่องเที่ยวศักยภาพสูงของอินเดีย ซึ่งจัดเป็นกลุ่ม Hi-End Segment
 
จำนวนนักท่องเที่ยวศักยภาพสูงจากประชากรชาวอินเดียกว่า 1,270 ล้านคนพบว่ามีนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศอายุ 18 ปีขึ้นไปที่จัดเป็นนักท่องเที่ยวศักยภาพสูงได้ประมาณ 7 แสนคนซึ่งอาศัยอยู่กระจายตามเมืองที่มีเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่อาทินิวเดลีลัคนาว และมุมไบ ไปจนถึงเมืองบังกาลอร์ที่เป็นศูนย์กลางทางด้านเทคโนโลยี
 
1. การใช้จ่าย ในการท่องเที่ยวต่างประเทศแต่ละครั้ง นักท่องเที่ยวอินเดียศักยภาพสูงมีการใช้จ่ายมากกว่านักท่องเที่ยวทั่วไปเกือบ 2 เท่า โดยมีการใช้จ่ายรวม 98,752บาท ในขณะที่นักท่องเที่ยวทั่วไปมีการใช้จ่าย 51,562บาททั้งนี้ ค่าใช้จ่ายที่สำคัญ ได้แก่ ค่าที่พัก (29,066 บาท) ค่าช้อปปิ้ง (26,546 บาท) ค่าอาหาร/เครื่องดื่ม (18,642 บาท) ค่ากิจกรรมบันเทิง (12,425 บาท) และค่าเดินทางในพื้นที่ (12,072บาท)
 
สำหรับการท่องเที่ยวในประเทศไทยพบว่านักท่องเที่ยวอินเดียมีการใช้จ่ายเฉลี่ยเพียง 39,668 บาทต่อครั้งเท่านั้น(คำนวณจากข้อมูลของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา)
 
2. ประเทศจุดหมายท่องเที่ยวยอดนิยม ไทยเป็น 1ใน 3 ประเทศที่นักท่องเที่ยวศักยภาพสูงนิยมเดินทางมาเยือนมากที่สุด โดย 5 ลำดับประเทศยอดนิยมของนักท่องเที่ยวศักยภาพสูงอินเดีย ได้แก่ (1) สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (2) สิงคโปร์ (3) ไทย (4) สหรัฐอเมริกา และ (5) มาเลเซีย
 

 
3. ช่องทางสื่อสารข้อมูล จากการบอกเล่ายังคงมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเดินทาง ขณะที่การสื่อสารผ่านช่องทาง Social Media มีบทบาทมากที่สุดต่อการตัดสินใจเลือกจุดหมายท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวศักยภาพสูงอินเดีย รองลงมาได้แก่ ข้อมูลจากบริษัทตัวแทนนำเที่ยว นิตยสารท่องเที่ยว และคู่มือการเดินทาง
 

 
4. ประเภทที่พักยอดนิยม นักท่องเที่ยวศักยภาพสูงอินเดียนิยมพักในโรงแรมระดับ 4 ดาวมากที่สุด โดยที่พักประเภทที่ได้รับความนิยมในลำดับถัดไป ได้แก่ โรงแรมทั่วไป โรงแรม 5 ดาว และโรงแรมบูติก ตามลำดับและมีระยะเวลาพักเฉลี่ย 4-5 วัน
 
5. กิจกรรมระหว่างท่องเที่ยวยอดนิยม เมื่อเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวศักยภาพสูงอินเดียให้ความสนใจมากที่สุดเรียงตามลำดับ ดังนี้  (1) ช้อปปิ้ง (2) กิจกรรมชายหาด/ชายทะเล (3) การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (4) กิจกรรมบันเทิง และ (5) การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์
 
6. สิ่งของที่ต้องซื้อ สินค้ายอดนิยม 5 ลำดับแรกสำหรับการช้อปปิ้งต่างประเทศ ได้แก่ (1) เสื้อผ้า (2) อาหารพื้นเมือง (3) สินค้าหัตถกรรม (4) เครื่องใช้ไฟฟ้า และ (5) เครื่องประดับหรืออัญมณี
 

 
7. สิ่งแรกที่นึกถึงประเทศไทย เมื่อกล่าวถึงประเทศไทยนักท่องเที่ยวศักยภาพสูงอินเดียส่วนใหญ่จะนึกถึง (1) ทะเลหรือกิจกรรมทางทะเล (2) สถานที่ท่องเที่ยวยามค่ำคืน (3) สถานที่สวยงามเหมาะสำหรับการพักผ่อน (4) อาหารไทยและผลไม้ไทย และ (5) แหล่งช้อปปิ้งหรือสินค้า
 
8. ข้อแนะนำการตลาดเบื้องต้น (Do and Don’t)นักท่องเที่ยวศักยภาพสูงสามารถแบ่งกลุ่มตามพื้นฐานด้านจิตวิทยาและไลฟ์สไตล์ได้ 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ 
 
กลุ่ม Succeeder มีจำนวนประมาณ 259,463 คนส่วนใหญ่กระจายตัวอยู่ในเมืองใหญ่ที่เป็นศูนย์กลางธุรกิจและการเงินโดยเฉพาะเมืองมุมไบบังกาลอร์และนิวเดลีเป็นกลุ่มคนวัยทำงานอายุระหว่าง 25-44 ปีมีความเชื่อมั่นในตนเองมีพื้นฐานการศึกษาดีและมีฐานะทางสังคมในระดับปานกลางถึงดีคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มคนที่ทำงานหนักและมีความกระตือรือร้น ต้องการรักษาและขยับสถานะทางสังคมของตนให้ดีขึ้น
 

 
ข้อแนะนำด้านการตลาดเบื้องต้นสำหรับกลุ่ม Succeeder
 
ต้องทำ (Do’s) ห้ามทำ (Don’ts)
นำเสนอเฉพาะสินค้าและบริการชั้นดีเยี่ยม
(Offer top quality product and service) 
ไม่นำเสนอสินค้าแบบธรรมดาหรือไม่มีรสนิยมควรเน้นการนำเสนออย่างชาญฉลาด
(Do not shout , Say it smartly & softly) 
เติมแต่งอารมณ์ของสินค้าให้ดูหรูหราฟู่ฟ่า
 
(Inject a sense of prestigious)
ไม่เน้นการขายแบบยัดเยียด และโฆษณาเกินจริง
(Never hard sale)
สร้างให้เกิดอารมณ์ของความอิสระสงบไม่วุ่นวายซับซ้อน
(Hassle-free, Peace of mind )
ไม่นำเสนองานที่ดูซับซ้อนไม่จริงใจ
(Do not be too complicated & process-maniac)

เน้นสินค้าที่เจาะจงเฉพาะกลุ่มอย่าเน้นการลดแลกแจกแถม

(Exclusivity rather than discount or reward) 

 
แสดงความเชี่ยวชาญในธุรกิจสามารถตอบโจทย์ความต้องการแบบเฉพาะเจาะจงได้อย่างครบถ้วน
(Be anticipated, Be professional) 
 
 
ให้ข้อมูลที่ละเอียดถูกต้องตรงไปตรงมา
(Honest and through information) 
 
 

 

กลุ่มReformer มีจำนวนเพียง 132,180 คนเท่านั้นกลุ่มนี้มีอายุเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มSucceederส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามเมืองใหญ่เป็นกลุ่มคนที่เติบโตทางความคิดมีเศรษฐฐานะทางสังคมในระดับที่ดีถึงดีมากมีความมั่นใจในตัวเองแต่ก็เปิดโลกทัศน์แบบกว้างขวางกระหายการเรียนรู้ชื่นชอบการค้นหาสิ่งแปลกใหม่แสวงหามุมมองใหม่ให้กับตนเองและสังคมรอบข้างมีรสนิยมในการดำรงชีวิตแต่ยังคงต้องการโดดเด่นในสังคม
 

 
ข้อแนะนำด้านการตลาดเบื้องต้นสำหรับกลุ่ม Reformer
 
ต้องทำ (Do’s) ห้ามทำ (Don’ts)
นำเสนอสินค้าที่ดีจริงคุณภาพเหมาะสมกับข้อเสนอ
(Real thing, not just good packaging and design) 
 
ไม่หลอกลวงเติมแต่งสีสันเกินจริง
(Don’t be tricky, Never cliché) 
 
เป็นธรรมตรงไปตรงมา
(Social fairness ) 
 
ไม่กาหนดกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดเกินไป
(Don’t tell them what to do) 
 
แสดงออกถึงความใส่ใจต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
(Care community and environment) 
 
ไม่สร้างขั้นตอนซับซ้อนวุ่นวาย
(Don’t provide too many instructions) 
 
กระตุ้นให้เกิดความอยากรู้อยากเห็นอยากได้ประสบการณ์แต่ต้องให้ตัดสินใจด้วยตัวของเขาเอง
(Provide personal space, provoke their curiosity) 
 
ไม่ทำการขายแบบทื่อๆไม่มีแผนการไม่มีทางเลือก
(Do not hard sale) 
 

 

 
กลุ่ม High-Value Mainstream มีจำนวนประมาณ 264,359 คนมากกว่านักท่องเที่ยวศักยภาพสูงกลุ่มอื่นคนกลุ่มนี้มีภาพลักษณ์ที่ดูดีแต่งกายดีเพื่อแสดงถึงฐานะความมั่งคั่งซึ่งเป็นบรรทัดฐานของสังคมชนชั้นในอินเดียเป็นกลุ่มคนที่มีความสุขและผูกพันกับคนหมู่มากคำนึงถึงคนรอบข้างเป็นส่วนใหญ่โอนอ่อนผ่อนตามครอบครัวและคนรอบตัวมีกิจวัตรประจำวันแบบเดิมๆรู้จักคุณค่าของเงินมักจะมีความกลัวในเรื่องใหม่ๆจึงมักใช้สินค้าและบริการที่สังคมส่วนใหญ่ยอมรับแบรนด์ทั่วไปที่คนรู้จักดีคุ้มค่าสมราคา
 

 
ข้อแนะนำด้านการตลาดเบื้องต้นสำหรับกลุ่ม High-Value Mainstream
 
ต้องทำ (Do’s) ห้ามทำ (Don’ts)
ใช้ตรรกะธรรมดาสำหรับดำรงชีวิตอันเป็นปัจจุบันอาจช่วยเร่งเร้าการตัดสินใจในทิศทางที่เป็นบวก (Use “Slice of Life”, or Patterns of Behavior that Build Confidence)
ไม่สร้างความรู้สึกแปลกใจด้วยสิ่งเร้าที่เกินคาดหวัง
(Do not Surprise Them) 
 
นำเสนอสิ่งเรียบง่ายที่ทำให้เกิดความมั่นใจ
(Simple but Sure) 
 
ไม่รุกเร้าหรือสร้างความรู้สึกที่ไม่คุ้นเคยด้วยการเปลี่ยนแปลงแบบหน้ามือเป็นหลังมือ
(Not Radical)
 
ให้คำแนะนำที่ง่ายๆแต่ครบถ้วน (Complete Guideline)  หลีกเลี่ยงการนำเสนอสิ่งที่แปลกจากธรรมเนียมปฏิบัตินอกเหนือสภาพสังคมที่เป็นอยู่ (Avoid being Rebellious & Highly Progressive i.e. Nude / Homosexual) 
เสนอสินค้าคุณภาพมาตรฐานด้วยราคาที่เหมาะสมไม่จำเป็นต้องราคาถูกแต่ก็ต้องไม่แพงจนรู้สึกว่าถูกเอาเปรียบ (Provide Standard Quality with Value for Money) 
ไม่ใช้กลยุทธ์ติฉินนินทาโจมตีหรือให้ร้ายผู้อื่น
(Negative Approach) 
 
สร้างความรู้สึกคุ้มค่าจากการใช้จ่ายที่ไม่แพง (Everyday Low Price)   

 

หมายเหตุ  การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้จัดทำ “โครงการศึกษาตลาดนักท่องเที่ยวศักยภาพสูง (ตลาดอินเดีย)” โดยทำการจัดเก็บข้อมูลจำนวน 2,100 ตัวอย่าง ด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบ Face to Face Interview ในเมืองสำคัญในประเทศอินเดีย (In-Market Survey) ได้แก่Delhi Lucknow Kolkata Chennai Hyderabad Mumbai และ Ahmedabad